เมนู

กัน มาพบกันได้
[1431] ป. ไม่พึงกล่าวว่าอวิญญัตติ เป็นความทุศีล หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. บุคคลเป็นผู้สมาทานบาปธรรมไว้แล้วมิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า บุคคลเป็นผู้สมาทานบาปกรรมไว้แล้ว ด้วย
เหตุนั้นนะท่าน จึงต้องกล่าวว่า อวิญญัตติ เป็นความทุศีล ดังนี้
อวิญญัตติ ทุสสีลยันติกถา จบ

อรรถกถาอวิญญัตติ ทุสสีลยันติกถา



ว่าด้วย อวิญญัตติเป็นความทุศีล



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอวิญญัตติ คือการไม่แสดงกายวาจาให้รู้ ว่าเป็น
ความทุศีล. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นดุจลัทธิของนิกายมหาสังฆิกะ
ทั้งหลายว่า อวิญญัตติเป็นการทุศีล เพราะหมายเอาการสั่งสมสิ่งที่มิใช่
บุญอันไม่ประกอบด้วยจิต และหมายเอาความสมบูรณ์ขององค์ข้อบังคับ
ในปาณาติบาตเป็นต้น ดังนี้ คำถามของสกวาที หลายชนเหล่านั้น คำ
ตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า เป็น
ปาณาติบาต
เป็นต้น เพื่อท้วงด้วยคำว่า ถ้าว่าอวิญญัตตินั้นพึงเป็นการ
ทุศีลอย่างไรอย่างหนึ่งในปาณาติบาตเป็นต้นไซร้ ดังนี้. คำว่า บุคคล
สมาทานบาปกรรม
อธิบายว่า ทำสมาทานบาปอย่างนี้ว่า เราจักฆ่า

บุคคลชื่อโน้น เราจักขโมยภัณฑะโน้น เป็นต้น. ถูกสกวาทีถามว่า
บุญและบาปทั้ง 2 อย่างเจริญหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะหมายเอา
ความไม่เกิดขึ้นแห่งบาปในขณะให้ทาน. ถูกถามครั้งที่ 2 ก็ตอบรับรอง
หมายเอาการสั่งสมบาปที่ไม่ประกอบกับจิต. คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบ
โดยนัยที่กล่าวไว้ในเรื่องบุญสำเร็จแต่การบริโภคนั่นแหละ. แม้การตั้ง
ลัทธิของปรวาทีนั้น ย่อมสำเร็จในส่วนเบื้องต้น คือ ในการสมาทานบาป
แต่ไม่ใช่ความเป็นผู้ทุศีลเพราะอวิญญัตติ ดังนี้แล.
อรรถกถา อวิญญัตติทุสสีลยันติกถา จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ



1. นิโรธกถา 2. รูปัง มัคโคติกถา 3. ปัญจวิญญาณสมังคิส-
สมัคคภาวนากถา 4. ปัญจวิญญาณากุสลาปีติกถา 5. ปัญจวิญญา-
ณาสาโภคาติกถา 6. ทวีหิสีเลหิสมันนาคิตติกถา 7. สีลัง อเจตสิกกันติกถา
8. สีลัง นจิตตานุปริวัตติกถา 9. สมาทานเหตุกถา 10. วิญญัตติสีลันติ-
กถา 11. อวิญญัตติทุสสีลยันติกถา.
วรรคที่ 10 จบ
ทุติยปัณณาสก์ จบ